วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

แรงเสียดทาน
     แรงเสียดทาน (friction) เป็นแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุหนึ่งพยายามเคลื่อนที่ หรือกำลังเคลื่อนที่ไปบนผิวของอีกวัตถุ เนื่องจากมีแรงมากระทำ

มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ


2. มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่วัตถุเคลื่อนที่หรือตรงข้ามทิศทางของแรงที่พยายามทำให้วั อ่านเพิ่มเติม
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
เซอร์  ไอแซคนิวตัน  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้วางรากฐานของวิชากลศาสตร์ไว้ด้วยกฎการเคลื่อนที่ของเขาไว้ 3 ข้อ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

    กฏข้อที่ 1   "วัตถุคงสภาพการเคลื่อนที่เดิม ถ้าไม่มีแรงมากระทำ  หรือ ผลรวมของแรงที่มากระทำมีค่าเป็นศูนย์" หรือกล่าวได้ว่า  วัตถุจะรักษาสภาพนิ่ง ถ้าเดิมอยู่นิ่ง และเคลื่อนที่เป็นแนวตรงด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอถ้าไม่มีแรงมากระทำ หรือแรงลัพธ์ของแรงที่มากระทำมีค่าเป็นศูนย์  กฏนี้เรียกว่ากฏแห่งความเฉื่อย   และเรียกวัตถุที่อยู่ในสภาพการเคลื่อนที่เดิมว่าอยู่ในสภาพสมดุล


        กฏข้อที่ 2  "ถ้ามีแรงกระทำต่อวัตถุ  จะทำให้วัตถุเกิดความเร่งในทิศเดียวกับแรงที่มากระทำ ขนาดของความเร่งคูณกับมวลของวัตถุมีค่าเท่ากับขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุ"  โดย แรงในที่นี้อาจเป็นแรงเดียว หรือแรงลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับวัตถุนั้น อ่านเพิ่มเติม
อัตราเร่ง

              กรณีที่วัตถุเคลื่อนที่อัตราเร็วที่ไม่สม่ำเสมอ หรือความเร็วไม่สม่ำเสมอ วัตถุมีค่าความเร่ง   

ความหมายของอัตราเร่งหรือความเร่ง คือ อัตราเร็วหรือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลาที่วัตถุมีการเคลื่อนที่


               การคำนวณหาค่าอัตราเร่ง ทำได้โดยหาอัตราเร็วที่เปลี่ยนไปโดยใช้อัตราเร็วสุดท้ายของการเค อ่านเพิ่มเติม
อัตราเร็ว
ในขณะที่วัตถุมีการเคลื่อนที่  ได้ระยะทางและการกระจัดในเวลาเดียวกัน  และต้องใช้เวลาในการเคลื่อนที่  จึงทำให้เกิดปริมาณสัมพันธ์ขึ้น  ปริมาณดังกล่าวคือ

1.อัตราเร็ว  คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นเปริมาณสเกลลาร์ หน่วยในระบบเอสไอ มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที
2.ความเร็ว คือ ขนาดของการกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ใช้หน่วยเดียวกับอัตราเร็ว
สมการแสดงความสัมพันธ์ของอัตราเร็ว ระยะทาง และเวลาเป็นดังนี้
          ให้       v  เป็นค่าอัตราเร็วหรือความเร็ว
                    s   เป็นระยะทางหรือการกระจัด

                    t    เป็นเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ อ่านเพิ่มเติม
 
การบวกเวกเตอร์
การบวกเวกเตอร์ ทำได้ 2 วิธี คือ 

1.วิธีวาดรูป
2.วิธีคำนวณ

    วิธีวาดรูป เป็นวิธีการเขียนรูปเวกเตอร์ตัวตั้งด้วยลูกศรให้มีขนาดและทิศทางตามที่กำหนด  แล้วเขียนลูกศรแทนเวกเตอร์ที่นำมาบวกต่อหัวลูกศรของตัวตั้ง หากมีเวกเตอร์ที่นำมาบวกอีกก็เขียนลูกศรต่อไปอีกจนครบ แล้วจึงลากเส้นจากหางลูกศรที่เป็นตัวตั้งตัวแรกไปยังปลายของลูกศรที่นำมาวาดต่อหลังสุด วัดความยาวของเส้นที่ลากนี้  จะได้ อ่านเพิ่มเติม
ปริมาณในทางฟิสิกส์
ปริมาณในทางฟิสิกส์ มี 2 ปริมาณ คือ

1. ปริมาณสเกลาร์ (Scalar) เป็นปริมาณที่บอกขนาดเพียงอย่างเดียว เช่น มวล ,อัตราเร็ว , พลังงาน ฯลฯ


2. ปริมาณเวกเตอร์ (Vector) เป็นปริมาณที่บอกทั้งขนาดและทิศทาง เช่น ความเร็ว , ความเร่ง , การกระจัด , แรง ฯลฯ

 
การคูณและหารเลขนัยสำคัญ
การคูณและการหารเลขนัยสำคัญ

              การคูณและการหารเลขนัยสำคัญ ให้ใช้วิธีการคูณและหารเหมือนทางคณิตศาสตร์ก่อน  แล้วพิจารณาผลลัพธ์ที่ได้   โดยผลลัพธ์จะต้องมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญของตัวคูณหรือตัวหารที่น้อยที่สุด  เช่น

             (1)   432.10   x    5.5     =    2376.55
                     ปริมาณ      432.10           มีจำนวนเลขนัยสำคัญ       5    ตัว
                                       5.5                 มีจำนวนเลขนัยสำคัญ       2    ตัว
                      ผลลัพธ์      2376.55        มีจำนวนเลขนัยสำคัญ       6    ตัว        แต่ผลลัพธ์ที่ได้ จะมีจำนวนเลขนัยสำคัญได้เพียง 2 ตัว
                                       เท่านั้น  ก็คือ  2  และ  3  แต่ตัวที่สามถัดจาก 3 เ  ป็นเลข  7 ให้เพิ่มค่าตัวหน้าคือ 3  อีก  1  เป็น   4   ดังนั้นคำ
                                       ตอบควรได้   2400  แต่ต้องจัดให้มีเลขนัยสำคัญเพียง   2  ตัว   จึงจัดได้เป็น    

             (2)    0.6214   4.52   =   0.1374778

                       จากตัวอย่าง  2   ผลลัพธ์  คือ   0.137

                   



การบวกและลบเลขนัยสำคัญ
การบวกและการลบเลขนัยสำคัญ

                 การบวกและการลบเลขนัยสำคัญ   ให้บวกลบแบบวิธีการทางคณิตศาสตร์ก่อน  แล้วพิจารณาผลลัพธ์ที่ได้  โดยผลลัพธ์ของเลขนัยสำคัญที่ได้ต้องมีตำแหน่งทศนิยมละเอียดเท่ากับปริมาณที่มีความละเอียดน้อยที่สุด   เช่น

               (1)    2.12 + 3.895 + 5.4236   =    11.4386
                         ปริมาณ                 2.12           มีความละเอียดถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 2
                                                      3.895        มีความละเอียดถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 3
                                                      5.4236      มีความละเอียดถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 4
                        ผลลัพธ์  11.4236   มีความละเอียดถึงทศนิยมตำแหน่งที่  4  ละเอียดมากกว่าเครื่องมือวัดที่อ่านได้   2.12,  3.895      ดังนั้นผลลัพธ์ของเลขนัยสำคัญต้องมีความละเอียดไม่เกินทศนิยมตำแหน่งที่  2  แต่ให้พิจารณาเลยไปถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 3 ว่าถึง 5 หรือไม่  ถ้าถึงก็ให้เพิ่มค่าทศนิยมตำแหน่งที่  2  อีก  1 
                          ดังนั้นผลลัพธ์          คือ   11.44

              (2)      15.7962  +  6.31   -  16.8    =     5.3062
                          จากตัวอย่าง  (1)    ผลลัพธ์  คือ  5.3
เลขนัยสำคัญ
หลักการนับเลขนัยสำคัญ
  1.  ถ้าอยู่ในรูปจำนวนเลขทศนิยมให้เริ่มนับตัวเลขแรกที่เป็นเลขโดด (1 ถึง 9)  ตัวเลขถัดไปนับหมดทุกตัว เช่น  0.561,  5.02,  10.00,  0.50   มีจำนวนเลขนัยสำคัญ  3,  3,  2,   4  และ  2  ตัว ตามลำดับ
  2. ถ้าวอยู่ในรูป http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/22/measurement/section4_p02_html_eqn1.gif  เมื่อ  (http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/22/measurement/section4_p02_html_eqn2.gif A  < 10)  และ  n  เป็นเลขจำนวนเต็ม ให้พิจารณาที่ค่า  A  เท่านั้นโดยใช้หลักเหมือนกับข้อ  1  โดยไม่ต้องคำนึงถึง n เช่น  http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/22/measurement/section4_p02_html_eqn3.gif,  http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/22/measurement/section4_p02_html_eqn4.gif (หรือ http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/22/measurement/section4_p02_html_eqn5.gif), http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/22/measurement/section4_p02_html_eqn6.gif (หรือ http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/22/measurement/section4_p02_html_eqn7.gif),  http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/22/measurement/section4_p02_html_eqn8.gif (หรือ http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/285/22/measurement/section4_p02_html_eqn9.gif)  มีเลขนัยสำคัญ 2, 2,  4  และ  2  ตัว ตามลำดับ
  3. ถ้าอยู่ในรูปจำนวนเต็ อ่านเพิ่มเติม

คำอุปสรรค
คำอุปสรรค (prefixes) เมื่อค่าในหน่วยฐานหรือหน่วยอนุพัทธ์น้อยหรือมากเกินไปเราอาจเขียนค่านั้นอยู่ในรูปตัวเลขคูณ ด้วย ตัวพหุคูณ   (ตัวพหุคูณ คือ เลขสิอ่านเพิ่มเติม